โรงงานต้นแบบที่ใช้หัวเผาเชื้อเพลิงชีวมวล (WOOD PELLET)

20th September 2017

ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย นำสมาชิกและผู้สนใจ เข้าเยี่ยมชมบริษัท คอบร้า อินเตอร์เนชันแนล จำกัด เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2560 ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งในการดำเนินงานด้านพลังงานทดแทนในการ "ปรับปรุงและติดตั้งระบบหม้อไอน้ำ และระบบที่เกี่ยวข้อง จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นการใช้เชื้อเพลิงขีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet) นับเป็น "ต้นแบบโรงงาน" ภายใต้การสนับสนุนนเพื่อเปลี่ยนหัวเผาหม้อไอน้ำไปเป็นหัวเผาที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลของสำนักวิจัย ค้นคว้าพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดยมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นที่ปรึกษา จะเห็นว่า "ต้นแบบโรงงาน" ดังกล่าว สมควรที่จะเป็นแฟล่งเรียนรู้ตัวอย่างที่มีคุณค่าแก่ผู้สนใจ พพ. ได้จัดทำโครงการนำร่องนี้ในปี 2557 ผลจาการดำเนินงานโรงงานสาธิต สามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงได้ 30-80% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณตันไอน้ำที่ผู้ประกอบการใช้งาน และราคาเชื้อเพลิงในขณะนั้น

ประโยชน์ที่ได้รับ

โครงการดังกล่าว สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายเชือเพลิงของหม้อไอน้ำให้แก่บริษัท คอบร้าฯ ลงได้ประมาณ 37% เดิมใช้ปริมาณน้ำมันเตาชนิด C ประมาณ 246,000 ลิตร/ปี ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงอยู่ที่ประมาณ 2,955,000 บาท/ปี แต่เมื่อปรับเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงขีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet) ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงอยู่ที่ 1,836,000 บาท/ปี ลดลงได้ถึง 1,119,000 บาท นอกจากนี้ยังส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับบริษัทฯว่าเป็นองค์กรที่ใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม


“ต้นแบบความคิดผู้บริหารรุ่นใหม่”

จากการจัดเยี่ยมชม “ต้นแบบโรงงานที่มีการใช้พลังงานทดแทน”ของบริษัท คอบร้า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในวันที่ 20 กันยายน 2560 ศูนย์อานุรักษ์พลังงานฯได้มีโอกาส พูดคุยกับ คุณดนู โชติกพนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมกับคุณสุพล วรธงชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบริการ และคุณปราชญ์ ปะตังเวสา ผู้จัดการแผนกซ่อมบำรุง ทำให้ได้ทราบถึงแนวคิดในการบริหารงาน และมุมมองที่แตกต่าง ที่ทำให้บริษัทฯประสบความสำเร็จในด้านต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง ไปพร้อมๆกับความภูมิใจกับรางวัล GREEN FACTORY ซึ่งถือได้ว่าเป็น “ต้นแบบความคิดผู้บริหารรุ่นใหม่” ที่จะช่วยจุดประกายให้กับสถานประกอบการอื่นๆในการเริ่มต้นต่อไปได้ โดยคุณดนู ได้เล่าให้ฟังว่า

เราเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2007 โดยเน้นในเรื่องของ Sustainability Development วางอุดมการณ์ไว้ 3 อย่าง คือ เรื่องของคุณค่าของคน พนักงานต้องมีความสุข เรื่องการบริหารงาน ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม และเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ผลิตภัณฑ์ของเราต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เรากำหนดนโยบายชัดเจนภายใน เพื่อให้ส่วนผลิตเป็นอันดับ 1 ต้องสะอาดกว่าใคร สร้างความมั่นคงให้แก่พนักงาน ผลิตภัณฑ์ นอกจากคนใช้แล้วมีความสุข เราปรับผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อดีตอุตสาหกรรมไฟเบอร์กล๊าสเกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก ในเรื่องกลิ่นของโพลีเอสเตอร์ เราได้พัฒนาจนได้รับรางวัลในเรื่องของการนำเส้นใยเซลลูโลส แทนไฟเบอร์กล๊าส ใช้ Bio – based materials, Greenpoxy เราได้ลงทุนในเรื่องการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบโรงงาน 10 กว่าปีที่ผ่านมาไปค่อนข้างเยอะ ทั้งในเรื่องของฝุ่น กลิ่น เสียง น้ำ อากาศ การปลูกต้นไม้ นอกจากนี้ ในเรื่องของพลังงานน้ำ น้ำมัน การลดขยะ การรีไซเคิล การจ้างงานภายนอก ZERO accident และอื่นๆ พยายามทำครอบคลุมในทุกๆเรื่อง

เรื่องของ”พลังงาน”เราใช้หัวข้อ Energy Reduction เรามามองเรื่องความยั่งยืน แล้วมาแตกโจทย์ ระหว่างการลดใช้พลังงาน กับการใช้พลังงานทดแทน การลดใช้พลังงานคืนทุนเร็วมากเริ่มจากเรื่องไฟฟ้าเป็นหลัก ปีนี้เป็นปีที่ 4 ค่าไฟลดลงครึ่งหนึ่งจากปีแรก เริ่มจากมาตรการที่ใกล้ตัว พอได้ลองทำ เริ่มทำ เริ่มรู้จักมากขึ้น ทำมากขึ้น เกือบทุก Project ที่เราเลือกทำระยะเวลาคืนทุน ไม่เกิน 2 ปี มีการลดการใช้พลังงาน 2 ปี คืนทุน 2 ปี พอทำไปเรื่อยๆพบว่า ข้อดีคือ ยั่งยืน พอมีแรงกระตุ้น เริ่มมองภายนอก อะไรน่าทำ นำมาทำ พอคืนทุน ค่าไฟลดลงทุกๆเดือน ลดลงมาตลอด ทำแล้วก็สนุก เหมือนเสพติด

สมัยก่อน ไม่ค่อยฟัง ไม่ค่อยเชื่อคนอื่นใครเอาอะไรมาเสนอ คิดในแง่ลบไว้ก่อนว่า เขาจะหาประโยชน์จากเรา เราเปลี่ยนวิธีการทำงาน เปลี่ยนจากการฟัง มาเป็นการดูข้อเท็จจริง (Fact) เอามาพิสูจน์ ถ้าทำดีก็ทำ ไม่ดีก็ไม่ต้องทำ มีงบประมาณในการพิสูจน์ มีนโยบาย ถ้าลองแล้วดีก็เริ่มเป็นโครงการ ทำเป็นแผน ตอนนี้มี Project เยอะมาก ว่ากันด้วยการพิสูจน์ อย่างโครงการเปลี่ยนเชื้อเพลิง Boiler มาเป็น Wood Pellet ของ พพ. ก็ดูแล้วว่าดีไม่มีความเสี่ยง supplier ก็ guarantee เพียงต้องการพื้นที่ เครื่องเก่าก็ยังใช้ได้อยู่ เดินคู่กัน ถ้าใช้ไม่ได้ เครื่องเก่าก็ยังใช้อยู่ ถ้า ok ก็ shut down เครื่องเก่า แล้ว run เครื่องใหม่ เป็นเรื่องของการเปิดโอกาสในการทดสอบ เราทำบนพื้นฐานที่มี Fact

นอกจากนี้ยังมีแนวคิดว่า

“จะกลัวอะไร ถ้าคนเราได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้น แล้วเราก็มาประดิษฐ์ของเราได้ เพราะเราไปเรียนที่ไหนไม่ได้ ถ้ามัน fail เราได้เรียนรู้ เราก็คุ้ม ถ้าไม่ fail มันก็ได้เคลื่อนต่อไป ที่มัน fail มันไม่ได้ fail ที่ Project แต่มันเพียงแค่ late จากแผนเท่านั้น แต่เราได้เรียนรู้ ตรงนี้ เก็บบวก เป็นจุดหนึ่งที่ผู้บริหารไฟแรงมีขึ้น”

“พนักงานคือหัวใจ พนักงานได้เรียนรู้จาก 3 คน ต่อไปขยายเป็น 30 เป็น 300 คน ดีกว่าไปจ้างใครมาสอน ตรงนี้มันคุ้มทุนที่ได้ลงไฟ เปิดโลกทัศน์ใหม่ เป็น return ที่เกินเงินลงทุน”

เรื่อง change การเปลี่ยนแปลง เอา Fact มาคุยกัน ถ้าพิสูจน์ได้ ก็เริ่มต่อไป เรื่องน้ำเป็นตัวอย่างที่ดีของเรา เราใช้น้ำ 10,000 กว่าคิว/เดือน 6 เดือนแรกล้มเหลว เราตั้งเป้าลดไว้ปีละ 20% เราลงทุนทั้งระบบ ใช้ระบบกรอง ระบบกลับมาใช้ใหม่ พยายามทุกเรื่องในที่สุดมาเจอน้ำรั่วใต้ดิน รั่วหลายปี รั่วจนชินว่าเราใช้น้ำเดือนละ 10,000 คิว ทันทีที่เจอ แก้ไขโดยลงทุน 100,000 กว่าบาท ในการยกท่อใต้ดินทั้งหมด ใช้เวลาเดือนเดียว เราลดค่าใช้จ่ายไปได้เดือนละ 100,000 บาท ถ้าเราไม่เริ่ม Project ก็จะไม่ทราบ นี่คือ Fact ของเรา

ความสำเร็จในเรื่อง change เริ่มต้นจากความคิด ปีแรกๆจะยาก โดนแรงสะท้อนมากเพราะกระทบความรู้สึก ความสะดวกสบาย แต่เป็นเพราะผู้บริหารแน่วแน่ ต้องใช้การพิสูจน์ใช้วิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น การลดจำนวนหลอดไฟ ต้องใช้เครื่องมือวัดความสว่างตามมาตรฐาน (LUX)มาทดสอบให้พนักงานเห็น เมื่อมีความเข้าใจ ก็ส่งผลในเรื่องจิตใจ เขาก็จะไม่มีอะไรที่ค้างคาใจ ยอมรับนโยบายที่กำหนดลงไปปฏิบัติ ต้องทำความเข้าใจว่า ทั้งหมดก็เพื่อตัวพนักงานเอง ไม่ใช่เป็นนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาให้ทำ ซึ่งก็มีตัวอย่างอีกหลายมาตรการที่เราได้พยายามเปลี่ยนแปลง จนเป็นผลสำเร็จ

จาก “ความพยายามลดขยะ สิ่งที่ได้คือลดต้นทุน” เราทำงานเรื่องพลังงานเรื่องขยะเป็นเงินทั้งนั้นที่เราทิ้งไป ทุกวันเสาร์จะชวนหัวหน้างาน เข้ามาดูถังขยะทีละใบ ผู้บริหารอยากรู้ว่าจะประหยัดอะไรได้บ้าง ให้ไปดูที่ขยะ จากตรงนั้นออกมาเป็นมาตรการต่างๆให้แก่พนักงงานทั้งผุ้จัดการ หัวหน้างาน มีนโยบายลงไป ต้อง change ความคิด และทำจากข้างล่างขึ้นมาข้างบน ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นเรื่องพฤติกรรมของคน

มาตรการ “แยกขยะ” เดิมมีถังขยะแยกขยะ 3 ถัง แต่ไม่แยก พอมีถังขยะที่ทำเป็นรูกลมๆใส่เฉพาะขวดพลาสติด ขวดแก้ว กระป๋อง เหมือนจิตใต้สำนึก ก็ไม่มีใครเอาอย่างมาใส่ ทิ้งแต่ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระป๋องอลูมิเนียม เป็นการ remind จากภาพที่เห็นได้

มาตรการ “แยกกระดาษ” เดิมเอาลังใส่กระดาษ A4 ที่ไม่ใช่แล้วมาวางก็ไม่มีการแยก หลังจากได้รณรงค์ให้ใส่เฉพาะกระดาษที่ใช้แล้วอย่างเดียวนาน 2 อาทิตย์ ไม่ต้องเอาไปทิ้งแล้วเอามาดู ก็จะพบทั้ง คลิปหนีบ แฟ้มใช้ได้ เชิญพนักงานทั้ง office มาดู แล้วคำนวณออกมาเป็นมูลค่าที่สูญเสียไป ให้เขาได้ตระหนักหรือให้เห็นว่าสามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ เช่น ไส้ max มาทำขาเทียมได้ เรามีกระปุกหยอดเฉพาะไส้ max เมื่อพนักงานมีความเข้าใจและรู้สึกดี ก็จะปฏิบัติตามโดยง่าย

มาตรการ “วางแบบ sticker เราพบว่ามีเหลือเศษทิ้งเยอะมาก ทิ้งเกือบครึ่งหนึ่ง ขอบข้างนอก ลายซ้ายขวา เราพยายามลด waste จากตรงนั้น เราก็มานิยามการออกแบบชิ้นงาน “เพื่อลดต้นทุน ลดวัสดุ ลดขยะที่ทิ้ง” ทีมงานรับนโยบายไปดำเนินการต่อ

มีอีกหลายมาตรการ ที่มีการ change ซึ่งเริ่มจากคำว่า “ทำไม” ทำไมต้องเปิดไฟตรงป้ายประกาศทิ้งไว้ ทำไมต้องเปิดกลางคืนอย่างเดียว ก็เลยเกิด concept ไฟทางเดิน โดยไฟที่จอดรถ 100 ดวง ติดชนิด photo อย่างเดียว 10 ดวง เป็นระยะๆที่เหลือเป็นแบบ motion จะติดเฉพาะเวลามีคนเดินผ่านเมื่อเดินออกไปก็จะปิดเช่น ไฟตรงป้ายประกาศ ซึ่งหากเดิมเปิดไว้ 8 ชม. มีคนมายืนอ่านเพียง 1 ชม. ไฟที่ต้องเปิดทิ้งไว้ถึง 7 ชม. ตรงนี้ รปภ. เองก็จะตรวจสอบง่ายขึ้น จุด boiler ก็เช่นกัน ใช้ photo + sensor มาเมื่อไหร่ก็เปิด ไปเมื่อไหร่ก็ปิด ในเมื่อปรับพฤติกรรมไม่ได้ เราก็ปรับ machine แทน

สิ่งที่อยากจะแชร์ไอเดียให้แก่สถานประกอบการอื่นๆก็คือ จากประสบการณ์ ผู้บริหารระดับสูงวันนี้ อันดับ 1 คือ ต้องหันมามองเรื่องของการลดพลังงาน/พลังงานทดแทน มองในมุมความยั่งยืน ในมุมต้นทุน มีการแข่งขันสูง ต้องลดต้นทุน มีบทพิสูจน์เยอะแยะ ว่าลดได้จริง อันดับ 2 ต้องเปิดหู เปิดตา การลดการใช้พลังงานมีมันหลายอย่างเชื่อได้หรือไม่ คำแนะนำ คือการพิสูจน์ เรื่องไหนพิสูจน์ยาก พักไว้ก่อน หันมาทำเรื่องง่าย เช่น หลอดไฟ พอทำได้แล้ว หันมาทำเรื่องยากขึ้น การเริ่มอะไรใหม่ๆ ทำให้เราได้เข้าใจ Fact ของเรามากขึ้น

มีองค์ประกอบปลีกย่อยอื่นๆอีกมากมาย ที่มาประกอบขึ้นเป็นนโยบาย

นโยบายสำคัญมาก ที่ต้องชัดเจน วิสัยทัศน์ ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ

นำมาหล่อหลอมเป็น “ต้นแบบความคิดผู้บริหารรุ่นใหม่”

Wood pellet